ผักชีลาว ชื่อภาษาอังกฤษเก๋ ๆ ว่า Dill Weed ผักสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะเห็นได้บ่อย ๆ ในอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานอย่างเช่นแกงอ่อม หรือกินแกล้มกับส้มตำ ซึ่งจริง ๆ แล้วใครจะไปรู้่ว่าเจ้าผักชีลาวกลิ่นหอมแปลก ๆ แบบนี้จะมีประโยชน์นมากมายเหลือเกิน ซึ่งในผักชีลาว 100 กรัม ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารมากมายประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
- โปรตีน 3.46 กรัม
- ไขมัน 1.12 กรัม
- ไฟเบอร์ 2.10 กรัม
- โฟเลต 150 ไมโครกรัม
- ไนอะซิน 1.570 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 7,718 IU ยูนิต
- วิตามินซี 85 มิลลิกรัม
- โซเดียม 61 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 738 mg มิลลิกรัม
- แคลเซียม Calcium 208 มิลลิกรัม
- ทองแดง 0.146 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 6.59 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 55 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 1.264 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.91 มิลลิกรัม
1. หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค จากผลการศึกษาในปี 2006 ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน Journal of Food Science ได้แสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยในผักชีลาวมีประสิทธิภาพต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เช่น ยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียอันตรายต่าง ๆ อาทิ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) อันเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาจากมหาวิทยาลัยในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ก็ยังได้พบอีกว่า สารสกัดจากเมล็ดผักชีลาวสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 35 ปี และสามารถฆ่าเชื้อราชนิดต่าง ๆ เช่น แอสเปอร์กิลลัส ไนเจอร์ (Aspergillus niger), เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) หรือแม้แต่เชื้อยีสต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้
2. ลดคอเลสเตอรอล การศึกษาในสถาบันวิจัยเคมีชีวภาพและชีวกายภาพของอิหร่าน ได้ทำการทดลองกับหนูโดยให้สารสกัดจากใบผักชีลาวกับหนู ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน พบว่าสารกัดดังกล่าวช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของหนูได้ถึง 50 % และลดคอเลสเตอรอลโดยรวมได้อีก 20 % จึงสรุปได้ว่าการรับประทานผักชีลาว สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกายได้
3. ลดกรดไหลย้อน โดยผักชีลาวนั้นสามารถเข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานในลำไส้ ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยได้ดีขึ้น และไม่พบกับปัญหาน้ำย่อยหลั่งออกมามากเกินไปจนทำให้ไหลย้อนขึ้นไปทำให้แสบร้อนที่กลางอก
4. ลดอาการนอนไม่หลับ เพราะสารฟลาโวนอยด์และวิตามินบีในผักชีลาวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์และฮอร์โมนบางชนิดส่งผลให้เกิดภาวะสงบและนอนหลับได้ในที่สุด
5. บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักชีลาวมีแคลเซียมสูง ซึ่งสามารถช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากใครไม่สามารถดื่มนมได้ ผักชีลาวก็ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งเพื่อบำรุงกระดูก
6. รักษาไข้หวัด ผักชีลาวสามารถช่วยลดอาการไข้หวัดได้ เช่น คัดจมูก และไอ แถมเจ้าสารสกัดจากผักชีลาวนี้ก็ยังมีในส่วนผสมของอาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดอีกด้วย
7. ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น สารประกอบในผักชีลาวนั้นมีการพบว่าสามารถลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แถมเมล็ดผักชีลาวยังสามารถเคี้ยวได้สบาย ๆ ใช้เป็นประจำก็สามารถทำให้กลิ่นปากหอมสดชื่น
8. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ผักชีลาวนั้นมีสารโมโนเทอร์ปีน (monoterpenes) อันมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับการโจมตีของเซลล์มะเร็งและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ในการใช้สมุนไพรชนิดนี้ด้วย
9. บำรุงสุขภาพผู้หญิง การศึกษาในปี 2006 ของนักวิจัยชาวอิหร่านพบว่า สารสกัดจากผักชีลาวนั้นหากรับประทานเข้าไปสามารถทำให้ระยะตกไข่ยาวนานขึ้น และช่วยให้ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนทำงานในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาพบอีกว่าผักชีลาวสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมให้ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ลดปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอได้
10. กระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ผักชีลาวมีไฟเบอร์สูง มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ใครที่ท้องเสียก็ควรรับประทานผักชีลาว เพราะผักชีลาวมีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างแมกนีเซียมช่วยให้อาการท้องเสียดีขึ้นได้
11. รักษาระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานผักชีลาวช่วยรักษาระดับอินซูลินในเลือดได้ โดยการศึกษานั้นได้ทดลองกับหนูแสดงให้เห็นว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดจากใบผักชีลาวติดต่อกัน 15 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงและระดับอินซูลินในร่างกายก็จะคงที่เป็นปกติ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จะรับประทานเสริมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
12. ปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งถือเป็นวายร้ายที่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อสารอนุมูลอิสระเข้าไปแล้วก็จะไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อผิวพรรณให้แก่ก่อนวัย และอาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย แต่สารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะถูกทำลายหากรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเช่น ผักชีลาว แถมสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีลาวยังมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการออกซิเดชั่นในระดับเซลล์ได้อีกด้วย
สรรพคุณเยอะขนาดนี้ หาเมนูที่มีส่วนประกอบของผักชีลาวมาทานกันเลยดีกว่าเนอะ :-)
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Livestrong.com
herbal-supplement-resource.com
herbwisdom
Livestrong.com
herbal-supplement-resource.com
herbwisdom
Kapook.com
ฝากติดตามแนะนำติชมได้ที่
IG : kinkumlangdee
Line : @kinkumlangdee (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
=v[dbo8iy[grikt,uliir86Imk'l,6owrifh;p
ตอบลบขออภัยพิมพ์ข้อคิดเห็นลืมคลิกภาษาไทย ครับ"ผมชอบกินผักชีครับเพราะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรด้วย"
ตอบลบ